Categories
บทความและข่าวสาร

การดูแลรักษาบ้าน

การดูแลรักษาบ้าน

บ้าน คือที่ที่เราอยู่อาศัย ใช้เวลาสำหรับการพักผ่อน ดังนั้นเพื่อให้บ้าน ของเรามีสภาพดี แข็งแรงน่าอยู่ไม่ดูทรุดโทรมลงเร็วจึงต้องมี การบำรุงรักษาบ้าน อยู่สม่ำเสมอ วันนี้เราจึงมี วิธีการดูแลรักษาบ้านแบบง่าย ๆ

1. การทำบ้านให้น่าอยู่

บ้านเป็นสถานที่ให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่อาศัยพักผ่อนนอนหลับให้ความปลอดภัยความสบายกาย และความสบายใจแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว บ้านแต่ละหลังมีรูปแบบการสร้างที่แตกต่างกันด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ลักษณะของบ้านจะเป็นเช่นไร สมาชิกในบ้านก็สามารถทำให้บ้านน่าอยู่น่าอาศัยได้ด้วยการเอาใจใส่ดูแลรักษาทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการทำความสะอาดบ้านให้มีสภาพเรียบร้อย จนเป็นที่สะดุดตาก็สามารถดึงดูดความสนใจให้สมาชิกในครอบครัวไดอยู่อาศัยอย่างมีความสุขมากกว่าบ้านที่ขาดการรักษาความสะอาด

หลักในการทำความสะอาดบ้านให้น่าอยู่

1.1     การทำความสะอาด

ความสะอาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ้านน่าอยู่ การทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถูเป็นประจำทำให้เครื่องเรือนเครื่องใช้ปราศจากความสกปรกแม้แต่บริเวณบ้าน รั้ว สนาม ทางเดินเข้าบ้านสะอาดร่มรื่นปราศจากขยะมูลฝอยต่าง ๆ

1.2     การสร้างความสะดวกสบาย

จัดแบ่งพื้นที่บริเวณบ้านให้เกิดการใช้สอยที่เป็นสัดส่วน เดินไปมาสะดวกและมีแสงแดดส่องถึงระบายอากาศได้ดีมีการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกไว้อย่างเหมาะสมสะดวกในการหยิบใช้ และการทำกิจกรรมต่าง ๆ

1.3     การตกแต่งให้สวยงาม

นอกจากการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เหมาะสมดังที่กล่าวในข้อที่ผ่านมา การจัดตกแต่งให้เป็นระเบียบไม่เกะกะ การจัดวางสิ่งของให้เกิดความสมดุล การใช้สี การตกแต่งผ้าม่าน เพื่อให้ดูสบายตาก็สามารถทำให้บ้านสวยงามน่าอยู่ยิ่งขึ้น

1.4     การจัดบ้านให้เกิดความปลอดภัย

การจัดบ้านให้มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น มีลูกกรงที่ระเบียงกันพลัดตกบันไดให้แข็งแรง เก็บยาสารเคมีให้พ้นจากมือเด็ก ทำความสะอาดบ้าน บริเวณบ้านให้ปราศจากตะไคร่จับทำให้ลื่นในขณะทำกิจกรรม ปลูกบ้านห่างไกลจากสิ่งปฏิกูล และแหล่งแพร่เชื้อโรคหรือมีวิธีการป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี้ยงได้

2.การวางแผนใช้ทรัพยากรในการทำความสะอาด

เครื่องมือทำความสะอาด

ทรัพยากรในการทำความสะอาดที่มีอยู่ภายในบ้าน  ควรคำนึงถึงการวางแผนการทำ

ความสะอาดทั้งภายในและภายนอกบ้าน มีดังนี้

2.1      เวลาที่จะใช้ในการทำความสะอาด

2.2      แรงงานที่จะใช้ในการทำความสะอาด

2.3      วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่จะใช้ในการทำความสะอาด

การทำความสะอาดทั้งภายในบ้านและบริเวณภายนอกตัวบ้าน จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อผู้ทำความสะอาดได้วางแผนการทำงานอย่างรอบคอบและรัดกุม ลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้  ตรวจสอบการทำงานและประเมินผลการทำงานในทุก ๆ งานที่ได้ทำไป ว่าได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ เพื่อจะได้พิจารณาปรับปรุงทั้งการวางแผนการทำความสะอาดและวิธีการทำงานในคราวต่อไป การวางแผนในการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดคือ การใช้เวลา แรงงานและวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยลดความสูญเสียทรัพยากรทั้งสามประการที่ไม่จำเป็นลงได้

3.การเลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำความสะอาดบ้าน

อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้ในการทำความสะอาดบ้าน ทั้งภายในตัวบ้าน และบริเวณภายนอกตัวบ้านนั้น สามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

3.1 อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปัดกวาด  ได้แก่

–   ไม้กวาดดอกหญ้า

–   ไม้กวาดทางมะพร้าว

–   ไม้กวาดด้ามยาวหรือไม้กวาดเสี้ยนตาล

–   ไม้กวาดขนไก่

–   ไม้กวาดไม้ไผ่

–   เครื่องดูดฝุ่น

3.2  อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเช็ด  ขัดและถู     

–   ผ้าสำหรับเช็ดถู

–   ฟองน้ำ

–   แผ่นขัด

–   แปรงพลาสติก

–   แปรงกาบมะพร้าว

–   ไม้ถูพื้นธรรมดา

–   ไม้ถูพื้นชนิดซักและบิดในตัว

วิธีดูแลรักษาบ้านให้แข็งแรงทนทาน

 วิธีดูแลรักษาบ้านให้แข็งแรงทนทาน และน่าอยู่ ปลอดภัย

 

บ้านคือที่ที่เราอยู่อาศัย ใช้เวลาสำหรับการพักผ่อน ดังนั้นเพื่อให้บ้านของเรามีสภาพดี แข็งแรงน่าอยู่ไม่ดูทรุดโทรมลงเร็วจึงต้องมีการบำรุงรักษาบ้านอยู่สม่ำเสมอ ดังนั่น Poolprop มีวิธีดูแลบ้านมีมีสภาพดีน่าอยู่มากฝากเจ้าของบ้านเพื่อนำกลับไปดูแลบ้านของคุณให้น่าอยู่ตลอดไป

1.ตรวจสอบการรั่วซึมของหลังคาบ้าน

เนื่องจากหากมีการรั่วซึมของหลังคาจะให้ให้เกิดคราบเลอะ เป็นรอยตะไคร่น้ำตามเพดานฝ้าทำให้ได้รับความเสียหาย ดูไม่น่ามอง และยังอาจทำให้ข้าวของภายในบ้านเปียกอีกด้วย ต้องรีบแก้ไข ปูกระเบื้องมุงหลังคาที่แต่แตก และเปลี่ยนฝ้าใหม่

2.พื้นกระเบื้องไม่ควรปล่อยให้มีน้ำขัง

พื้นหากมีน้ำขังปล่อยไว้อาจจะมีตะไคร่มาจับ ทำให้ลื่นหกล้มได้ง่าย ดังนั้นควรขัด เช็ดน้ำให้แห้ง

3.ไม่ควรทิ้งขยะลงไปในท่อ เพราะจะทำให้อุดตันได้

ไม่ควรทิ้งขยะลงในท่อระบายน้ำ เพราะอาจทำให้ท่ออุดตันจนไม่สามารถระบายน้ำได้ ต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอีกด้วย ควรทิ้งในถุงขยะที่จัดเตรียมไว้

4.ดูแลสวน และต้นไม้ไม่ให้รก

ควรดูแลต้นไม้ ตัดหญ้า ตัดกิ่งที่ขึ้นมารกให้ดูเป็นระเบียบ หากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์มีพิษพวก งู ตะขาบ และควรรดน้ำต้นไม้เพื่อให้ต้นไม้งามให้ร่มเงาไม่แห้งเหี่ยวและตายไป

5.หมั่นเช็คสภาพระบบไฟฟ้าปลั๊ก สายไฟว่ามีรอยชำรุดเสียหายหรือไม่

ควรสังเกตตรวจสอบสายไฟ ปลั๊กไฟ หลอดไฟ หากพบว่าชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกภายในบ้านไม่ให้เกิดอันตรายจาก ไฟฟ้ารัดวงจร ไฟช็อต ไฟรั่ว หรืออาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

6. หมั่นทำความสะอาดปัดกวาดเช็ดถูบ้านอยู่เสมอ

บ้านที่สะอาดย่อมทำให้บ้านน่าอยู่ เจริญหูเจริญตา มองแล้วอารมณ์ดี ป้องกันฝุ่นหรือเชื้อโรคเพื่อสุขภาพที่ดีของเราอีกด้วย ทำความสะอาดรีโมท ที่จับประตู ทำความสะอาดฟองน้ำล้างจาน โทรศัพท์ เมาส์ คีย์บอร์ด ตู้เย็น อ่างล้างจาน พรมปูพื้น เปลี่ยนเครื่องนอน ซัก หรือนำไปแตกแดดเสมอเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย

7. เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลบ้านที่มีคุณภาพ

เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลบ้านที่มีคุณภาพ สภาพดีพร้อมใช้ อุปกรณ์ไม้ถูพื้น ไม้กวาด ผ้าเช็ดทำความสะอาด ถังขยะ ที่ตักผง ที่ปัดฝุ่น เครื่องดูดฝุ่น น้ำยาถูพื้นควรมียาฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย น้ำยาเช็ดกระจก นำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น เมื่อเรามีอุปกรณ์ดีครบถ้วนจะทำให้เราอยากทำความสะอาด และทำความสะอาดดูแลบ้านได้อย่างดีมีคุณภาพอีกด้วย

8.หมั่นดูแลสี ความเสียหายของบ้านเพื่อซ่อมแซมปรับปรุงอยู่เสมอ

หมั่นตรวจสอบตัวบ้าน เมื่อพบว่าสีผนังอาคารเกิดฝุ่นคล้ายแป้ง แสดงให้เห็นว่าสีเริ่มเกิดการเสื่อมสภาพ รอยร้าว สีลอก ทำรัง ควรให้ช่างดูแลซ่อมแซมอุดรอย ทาสี ขัดเงา ทาเคลือบป้องกันปลวกให้เรียบร้อยเพื่อให้บ้านคงสภาพดีดังเดิม

9.บ้านที่มีถังบำบัดสำเร็จรูปใต้ดินควรสูบตะกอนทุก 2 ปี

ถังบำบัดสำเร็จรูปใต้ดินนั้นควรสูบตะกอนออกทุกๆ 2 ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และรักษามาตรฐานการใช้งานถังบำบัดนั้น และควรเติม จุลินทรีย์ธรรมชาติ หรือ ผงจุลินทรีย์ผสมน้ำ ลงในถังทุกๆ เดือนเพื่อให้แบคทีเรียย่อยสลายเองด้วย

10.บ้านที่มีถังสำรองน้ำกักเก็บน้ำไว้ใช้ควรตรวจสอบรอยรั่วซึมของน้ำ

ควรตรวจสอบรอยรั่วซึมของน้ำว่ามีดินเปียกหรือผนังเปียกที่เกิดจากการรั่วซึ่มของน่ำ ทุกๆ 2 ปี รวมถึงการตรวจสอบตะไคร้น้ำข้างถังทุกๆ ปี หรือสังเกตปั้มน้ำทำงานตอนไม่ได้ใช้น่ำหรือไม่หากทำงานอาจเกิดจากมีน้ำรั่ว

11.ตรวจสอบพื้นคอนกรีต เช่นพื้นโรงรถ พื้นลานซักล้าง พื้นทางเท้า

พื้นคอนกรีตนั้นควรตรวจสอบทุกๆ ปี เพราะโดยธรรมชาตินั้น ดินจะเกิดการทรุดตัว ทำให้พื้นคอนกรีตทรุดเกิดรอยร้าวหรือแตกเป็นเศษเล็กๆ หรือเป็นหลุมทำให้เกิดความเสียหายควรทำการซ่อมแซม

12.มีระบบการป้องกันบ้านจากปลวก

ควรมีการตรวจสอบปลวกทุกๆ 4 เดือนหากพบปัญหาปลวกขึ้นบ้านให้รีบแจ้งบริษัทที่รับกำจัดปลวกฉีดยาป้องกันปลวกและให้รับประกันปลวกขึ้นบ้านด้วย พอหมดประกันก็ให้มาตรวจดีอีกครั้งเพื่อต่อประกันปลวกขึ้นบ้าน เพราะปลวกขึ้นบ้านทำให้บ้านได้รับความเสียหายโดยเฉพาะเสาบ้าน คานซึ่งเป็นที่เสริมความแข็งแรงของบ้านต้องหมั่นดูแลให้ดีอยู่เสมอ

Cr. https://www.tsksuphan.com/th/articles/136014-การดูแลรักษาบ้าน